หนองที่ขึ้นอยู่บนเหงือกมักจะเจ็บมากๆ และอาจทำให้รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และพูดลำบาก มันอาจเกิดจากฟันผุ คราบพลัคที่ก่อตัวหนา หรือเศษอาหารที่ติดอยู่ตามไรฟัน ซึ่งหนองที่ว่านี้ ก็อาจจะจู่ๆ ขึ้นมาโดยไม่มีสัญญาณเตือนและมักจะหายยาก แต่ก็มีวิธีต่างๆ ที่ช่วยกำจัดรำมะนาดและรักษาเหงือกบริเวณนั้นได้เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นอีก
กำจัดรำมะนาดโดยผู้เชี่ยวชาญ
ผ่าตัดเพื่อเอาหนองออก. ถ้าคุณเป็นโรครำมะนาดเรื้อรังหรือถ้ารำมะนาดทำให้เหงือกไม่น่าดู คุณอาจจะผ่าตัดออกไปเลย ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการที่จะไม่กลับไปเป็นอีกครั้ง คุณต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเหงือก เช่น ปริทันตทันตแพทย์ เกี่ยวกับทางเลือกนี้เพื่อดูว่าเขาจะแนะนำอะไร
ทันตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเหงือก
ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเหงือกอาจจะแค่แนะนำให้คุณระบายหนองออกแทนที่จะผ่าตัด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหนองและความซับซ้อนในการเอาออก ในกรณีนี้เขาจะจ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณรับประทานอย่างน้อย 5 วันหลังจากระบายหนองออกแล้ว
พิจารณาปริทันต์บำบัด
หลายครั้งที่รำมะนาดเกิดจากโรคเหงือกหรือโรคปริทันต์อื่นๆ ที่ทำให้เกิดฝีปริทันต์ ถ้ากรณีนี้เกิดขึ้นกับคุณ คุณอาจจะต้องให้ทันตแพทย์ทำความสะอาดช่องปากอย่างหมดจดเพื่อกำจัดแบคทีเรียในช่องปากที่อาจทำให้เกิดรำมะนาดได้
ถ้าวิธีนี้ช่ว ยได้ อย่าลืมไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดระดับแบคทีเรียในช่องปากและช่วยรักษาสุขภาพช่องปากโดยรวมด้วย
การผ่าตัดเหงือก
คุณอาจจะเข้ารับการผ่าตัดเหงือกถ้าปริทันตทันตแพทย์ประเมินแล้วว่า มันเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อหรือรำมะนาดในอนาคต
การรักษาคลองรากฟัน
บางครั้งรำมะนาดก็เกิดจากโพรงหนองของฟัน ถ้าเป็นกรณีนี้จะต้องรักษาคลองรากฟันเพื่อกำจัดแบคทีเรียและเคลือบฟันที่ผุกร่อนในบริเวณนั้น เมื่อรักษาคลองรากฟันแล้ว ก็จะมีการสอดครอบฟันหรืออุดฟันปิดไว้เพื่อปกป้องฟันและปากไม่ให้ติดเชื้อเพิ่ม

การรักษาคลองรากฟันมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและต้องเข้ารับการรักษาหลายครั้ง เพราะฉะนั้นอย่าลืมศึกษาข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายก่อนตกลงเข้ารับการผ่าตัด
กำจัดรำมะนาดด้วยตนเอง
วิธีนี้จะช่วยลดอาการบวมและทำให้หนองแห้งหรือดูดซับการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นที่รำมะนาด เทน้ำค่อนข้างอุ่นใส่ในแก้วใสหรือแก้วก้นหนาที่ไม่มีหูจับครึ่งแก้ว จากนั้นเติมเกลือบริโภคครึ่งช้อนชาลงไป คนจนกว่าเกลือจะละลาย ถ้ามีเกลือบางส่วนกองก้นก็ไม่เป็นไร บ้วนปากด้วยส่วนผสมเหมือนเวลาที่คุณใช้น้ำยาบ้วนปากทั่วไป แต่เวลากลั้วปากให้เน้นตรงด้านที่ติดเชื้อมากเป็นพิเศษ และอย่ากลืนน้ำเกลือลงไป
วิธีการบ้วนปากด้วยเกลือ
บ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 1 หรือ 2 ครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อรักษาหนอง วิธีนี้จะช่วยลดโอกาสในการที่จะกลับมาเป็นอีก และในขณะเดียวกันก็อย่าลืมทำตามกิจวัตรในการรักษาสุขลักษณะของช่องปากที่ดีด้วย
ข้อควรระวังในการใช้เกลือ
วิธีนี้ได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพช่องปากและผ่านการทด สอบทางคลินิกแล้วว่ามีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่สามารถทดแทนการไปพบทันตแพทย์ได้
การใช้น้ำมันหอมระเหย
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยในการกำจัดรำมะนาด
การทาน้ำมันหอมระเหยลงบนรำมะนาดโดยตรงจะช่วยลดระดับของแบคทีเรียที่ปรากฏและทำให้สุขภาวะของเนื้อเยื่อโดยรวมดีขึ้น ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้รำมะนาดสลายไปเองได้โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ แค่หยดน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดลงในน้ำ 1 แก้ว จากนั้นกลั้วปากให้ทั่ว
น้ำมันหอมระเหยที่เหมาะสม
น้ำมันหอมระเหยที่ควรเลือกใช้ก็เช่น น้ำมันสเปียร์มินต์และน้ำมันเปปเปอร์มินต์
อย่ากลืนส่วนผสมที่มีน้ำมันหอมระเหยลงไป
การรับประทานหอมหัวใหญ่ดิบ
การบริโภคหอมหัวใหญ่ดิบเป็นวิธีการรักษารำมะนาดด้วยตนเองที่ได้ผลดีมาก เพราะหอมหัวใหญ่มีซัลเฟตในระดับที่ค่อนข้างสูง ซึ่งช่วยเพิ่มความร้อนและทำให้หนองที่ขึ้นในช่องปากแห้ง
ข้อควร ระวัง
วิธีนี้เป็นการรักษาด้วยตนเองที่บ้านและอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวิธีการอื่นๆ ที่ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์
ถ้าคุณไม่ชอบรสชาติของหอมหัวใหญ่ ให้ลองรับประทานกับสิ่งอื่น เช่น ใส่ในสลัดหรือบนแซนด์วิช รสชาติของมันจะได้ถูกกลบไป
อย่านำหอมหัวใหญ่ไปทำให้สุก
เพราะมันจะไปลดปริมาณซัลเฟอร์ที่มีอยู่ในผัก
ป้องกันรำมะนาด
การแปรงฟันทุกวันเป็นประจำ (อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดรำมะนาด รวมทั้งปัญหาอื่นๆ เช่น เหงือกร่น และยังส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปากทั่วไปอีกด้วย การแปรงฟันจะช่วยลดแบคทีเรียและเชื้อโรคที่ปรากฏในช่องปาก รวมถึงกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารด้วย
เทคนิคการแปรงฟันที่ถูกต้อง
ใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงนุ่มและปรึกษาทันตแพทย์เรื่องเทคนิคการแปรงฟันที่ถูกต้อง
การใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
การใช้ไหมขัดฟันเป็นหนึ่งในวิธีการลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียในช่องปากได้ดีที่สุด เนื่องจากสุขภาพช่องปากโดยรวมถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันรำมะนาด คุณจึงต้องใช้ไหมขัดฟันทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีปัญหากับการเป็นรำมะนาดเรื้อรังหรือกลับมาเป็นซ้ำ
คำแนะนำจากทันตแพทย์
ทันตแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้คุณใช้ไหมขัดฟันวันละ 2 ครั้ง
การใช้น้ำยาบ้วนปากสู ตรต้านแบคทีเรีย

การสะสมของแบคทีเรียนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของรำมะนาด คุณจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อลดปริมาณแบคทีเรียที่ไม่ดีในช่องปากให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการที่ดีก็คือ เพิ่มการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากสูตรต้านแบคทีเรียเข้าไปในกิจวัตรการดูแลช่องปากประจำวัน โดยบ้วนปากหลังใช้ไหมขัดฟันและก่อนเข้านอน
เวลาที่เลือกน้ำยาบ้วนปาก คุณไม่ต้องสนใจยี่ห้อมากนักก็ได้ แค่ดูให้ดีว่าที่บรรจุภัณฑ์เขียนว่า ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยต้านแบคทีเรียและได้รับการรับรองจากสมาคมทันตแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ
วิธีป้องกันการเกิดรำมะนาดได้ดีที่สุดก็คือ การดูแลช่องปากอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ซึ่งได้แก่การไปพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดและตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ ทันตแพทย์หรือทันตาภิบาลสามารถช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่ และสามารถแจ้งให้คุณทราบได้หากพบปัญหา หรือแนะนำวิธีการดูแลช่องปา กแบบเจาะจงได้
นอกจากนี้ทันตแพทย์ยังสามารถสังเกตเห็นสัญญาณของอาการฟันผุหรือปัญหาปริทันต์อื่นๆ ได้เร็วกว่าคุณมาก จึงช่วยให้คุณรับรู้ถึงอาการหรือสาเหตุของรำมะนาดตั้งแต่แรกเริ่ม
คุณควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำปีละ 2 ครั้ง (ทุก 6 เดือน)
คุณกำลังดูโพสต์นี้ วิธีการ กำจัดรำมะนาด